วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 5 การสืบพันธุ์และกาเจริญเติบโตของสัตว์





การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน โดยที่สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นจะทดแทนสิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่ตายไป ทำให้สิ่งมีชีวิตเหลือรอดอยู่ได้โดยไม่สูญพันธุ์

การสืบพันธุ์มี 2 วิธี คือการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 4 ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์





                          อาหารที่คนรับประทานมีทั้งข้าว เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงานจากสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของเซลล์เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่สารอาหารที่จะเข้าสู่เซลล์ได้ต้องมีโมเลกุลขนาดเล็ก ร่างกายมีกระบวนการอย่างไร จึงจะทำให้โมเลกุลของสารอาหารขนาดใหญ่มีขนาดเล็กลง และกระบวนการนี้เกิดขึ้นที่ส่วนใดของร่างกาย เมื่อโมเลกุลของสารอาหารมีขนาดเล็กลงแล้วจะเข้าสู่เซลล์ได้อย่างไร และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีกระบวนการเช่นเดียวกันหรือไม่ นักเรียนจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้โดยศึกษาในหัวข้อต่อไปนี้
4.1อาหารและการย่อยอาหาร

อาหารที่สิ่งมีชีวิตนำเข้าสู่ร่างกายมีทั้งสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เช่นกลูโคสและกรดอะมิโน ซึ่งเซลล์สามารถนำไปใช้ได้ สำหรับสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิพิด ร่างกาย มีกระบวนการทำให้เป็นสารโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้ เรียกกระบวนการนี้เรียกว่า การย่อยอาหาร(digestion)  อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต



                               
                   เซลล์ (cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานของทุกชีวิตในสิ่งมีชีวิต บางครั้งเรียกว่าก้อนอิฐของชีวิต ("building blocks of life") สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว (unicellular) แต่มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)
ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป

                     คำว่า เซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็กๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระ      อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 2 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

                               


             สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน  ออกซิเจน  ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน   อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต



ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
                สมบัติของสิ่งมีชีวิต  ใช้พลังงาน(เคมี) ในเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิต
1.        การสืบพันธุ์ (reproduction) หมายถึง  การเพิ่มจำนวนลูกหลานที่มีลักษณะเหมือนเดิมของสิ่งมีชีวิต
1.1      ไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) ไม่มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์
ข้อดี ... ได้จำนวนมากและรวดเร็วมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนพ่อและแม่
ข้อเสีย  ... ไม่ก่อให้เกิดความหลากหลาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

1.2      อาศัยเพศ (sexual reproduction) อาศัยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เพศเมียมาผสมกัน เกิดเป็นหน่วยชีวิตใหม่  ซึ่งมีลักษณะบางประการแตกต่างออกไป  มีทั้งส่วนที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับธรรมชาติ อ่านเพิ่มเติม